โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา คือโรคอะไร
โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา กลุ่มโรคเป็นกลุ่มอาการโรคไข้ออกผื่น ลักษณะของโรค : เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรงที่มีอัตราป่วยตายสูง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebolavirus) และเชื้อไวรัสมาร์บูร์ก (Marburgvirus)
สถานการณ์ทั่วโลก : การระบาดของโรคพบการระบาดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในซูดาน 800 กิโลเมตร จากแซร์อีร์ (ปัจจุบัน เป็นประเทศคองโก) ตรวจพบเชื้อครั้งแรกในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการชำแหละลิงชิมแปนซี ที่ไอวอรี่โค้ด ปี พ.ศ. 2547
สถานการณ์โรคในประเทศไทย : โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา-มาร์บูร์ก เป็นกลุ่มโรคไข้แล้วมีเลือดออกชนิดหนึ่งอัตรา การแพร่ระบาดสูงและ เร็ว และอัตราค่อนข้างสูง(50-90%) ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลการป่วยด้วยโรคนี้และโรคนี้ ยังไม่อยู่ในระบบเฝ้าระวัง อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวของประเทศไทย ก็อาจเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่เชื้ออาจมาจาก พื้นที่ระบาดของโรคเข้ามาในประเทศมาได้ ดังนั้น อาจต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับกลุ่มประชากรบางกลุ่ม
อาการของโรค : ไข้สูงทันทีทันใด อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะมาก ตามด้วยอาการเจ็บคอ อาเจียนท้องเสีย และมีผื่นนูนแดง ตามตัว (maculopapular rash) ในรายที่รุนแรงหรือในบางรายที่เสียชีวิต อาการเลือดออกง่ายมักเกิดร่วมกับภาวะตับ ถูกทำลาย ไตวายอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง และช็อก โดยอวัยวะหลายระบบเสื่อมหน้าที่
ระยะฟักตัว : ประมาณ 2 - 21 วัน
การรักษา : ไม่มีการรักษาจำเพาะ ในรายที่มีอาการรุนแรงต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ให้สารนํ้าอย่างเพียงพอ
การแพร่ติดต่อ : การติดเชื้อไวรัสอีโบลาของคน เกิดขึ้นจากสาเหตุ ดังนี้
1. ในทวีปแอฟริกา เกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ตายในป่าที่มีฝนตกชุก
2. สำหรับไวรัสอีโบลา สายพันธุ์เรสตัน จะพบการติดต่อสู่คน โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิง cynomolgus ที่ติดเชื้อ และยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางละอองฝอยที่ลอยในอากาศการติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือดที่ติดเชื้อ สารคัดหลั่ง อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้การติดเชื้อในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยาที่ปนเปื้อนเชื้อ
มาตรการป้องกันโรค : ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับทั้งไวรัสอีโบลาหรือมาร์บูร์กควรป้องกันการมีเพศสัมพันธ์หลัง การเจ็บป่วยเป็นเวลา 3 เดือน หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบไวรัสในนํ้าอสุจิ
การควบคุมการระบาด : แยกผู้ป่วยสงสัยจากผู้ป่วยอื่นๆ และเฝ้าระวังผู้สัมผัสใกล้ชิด ใช้มาตรการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างเข้มงวด รวมถึงดำเนินการให้ความรู้แก่ชุมชนอย่างเหมาะสมและรวดเร็ว
ที่มา : http://beid.ddc.moph.go.th/media/factsheet_detail.php?id=19
จำหน่ายแอลกอฮอลล์เจล ทำความสะอาดมือฆ่าเชื้อโรค โทร 086 323 0479 |